คาดดอกเบี้ยสูงค้างยาวหลายเดือน SCB CIO แนะเลี่ยงหุ้นกู้เสี่ยงสูง

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี กว่าจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด (Fed)

โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 68 แต่ตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 66-67 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ เฟด เดือน มิ.ย. 66 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 66-68 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ เฟด ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อย ๆ ลดลง และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อน ๆ โดย เฟด คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 67-68 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 68 อัตราดอกเบี้ย เฟด ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% และดอกเบี้ยระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของ เฟด ครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี 51

FedWatch Tool ของ CME เครื่องมือคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนาม หรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศตลาดเกิดใหม่ ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

อย่างไรก็ตามจากดอกเบี้ยที่ยังค้างในระดับสูง ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือ ภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง โดยราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลง บวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงินซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 33

ดร.กำพล กล่าวต่อว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้อินเวสต์เมนต์ เกรด (Investment Grade) กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจากเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ เฟด ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ย และแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 67 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้ High Yield ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีนคำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์

 คาดดอกเบี้ยสูงค้างยาวหลายเดือน SCB CIO แนะเลี่ยงหุ้นกู้เสี่ยงสูง

บอนด์ยิลด์สหรัฐฯ พุ่งสูงสุดรอบ 16 ปี กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก คาดไทยผันผวนน้อย

เปิดโผหุ้นเก็งกำไร รับกระแสรัฐบาลใหม่แจก “เงินดิจิทัล 10,000 บาท”

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/66 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาด หรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ มูลค่า(Valuation) ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งได้แนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้

ขณะเดียวกันได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท นอกจากนี้ ยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด)

สำหรับหุ้นจีน H-share ยังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี(37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้านสงครามด้านเทคโนโลยี (Tech war) ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

You May Also Like

More From Author