กลุ่มผู้นำแอฟริกายื่นคำขาด บีบคณะรัฐประหารปล่อยผู้นำไนเจอร์ภายใน 7 วัน

เข้าสู่วันที่ 5 แล้ว หลังเกิดรัฐประหารในไนเจอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และจนถึงตอนนี้สถานการณ์ยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แม้นายพลหัวหน้ากลุ่มทหารที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารไนเจอร์ได้ประกาศแต่งตั้งตนเองเป็นผู้นำประเทศคนใหม่ไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่คณะรัฐประหารยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากประเทศในทวีปแอฟริกาเองรวมถึงชาติตะวันตก ล่าสุดกลุ่มผู้นำประเทศแอฟริกาตะวันตกได้เรียกประชุมฉุกเฉินเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเพื่อหารือเกี่ยวกับการรัฐประหารในไนเจอร์

ชาติแอฟริกาตะวันตกขู่ใช้กำลัง หากรัฐบาลทหารไนเจอร์ไม่คืนอำนาจให้ปธน.

ปลอดภัยดี ประธานาธิบดีไนเจอร์ปรากฏตัวครั้งแรกหลังถูกรัฐประหาร

นายพลผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหารไนเจอร์ ตั้งตนเป็นผู้นำคนใหม่

โดยการประชุมสุดยอดของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกาตะวันตก หรือ ECOWAS เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้นำชาติสมาชิกแอฟริกาตะวันตก 15 ชาติได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย

ซึ่งการประชุมสมัยดังกล่าวไม่ใช่การประชุมตามรอบปกติ แต่เป็นการเรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจจากโมฮาเหม็ด บาซูม ประธานาธิบดีไนเจอร์ที่ขึ้นมาสู่อำนาจจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2021 และการแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้นำประเทศคนใหม่ของ พลเอกอับดูราฮามาเน ชีอานี หัวหน้ากลุ่มทหารที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารครั้งนี้

หลังการประชุม โอมาร ตูเร ประธานกลุ่ม ECOWAS ได้อ่านแถลงการณ์ร่วมในนามกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตกว่า คณะรัฐประหารต้องปล่อยตัวและคืนอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีบาซูมภายใน 7 วัน ไม่เช่นนั้น ECOWAS จะใช้ทุกมาตรการที่มีเพื่อฟื้นฟูการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้กลับคืนสู่ไนเจอร์ คำว่าทุกมาตรการดังกล่าวยังมีนัยหมายรวมถึงการใช้กำลังทางการทหารด้วย

นอกจากจะประกาศข่มขู่ใช้กำลังในไนเจอร์ หากคณะรัฐประหารไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องแล้ว กลุ่มประเทศ ECOWAS ยังประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินต่อไนเจอร์และคณะรัฐประหารอีกด้วย มาตรการที่มีผลทันทีคือ การยุติการทำธุรกรรมทางการเงินและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ ECOWAS และไนเจอร์ ปิดพรมแดนทางบกและทางอากาศ แช่แข็งทรัพย์สินรัฐบาลไนเจอร์ที่อยู่ในธนาคารของกลุ่มประเทศ ECOWAS และระงับความช่วยเหลือต่างๆ ที่มอบให้แก่ไนเจอร์

มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้เป็นมาตรการแบบเดียวกันกับที ECOWAS เคยใช้เพื่อสร้างแรงกดดันประเทศที่ก่อรัฐประหารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่าง บูร์กินาฟาโซ มาลี และกินี ไนเจอร์และบรรดาประเทศกลุ่มแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกเหล่านี้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการเมืองที่ไร้เสถียรภาพและปัญหาความมั่นคงจากกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรง

ขณะเดียวกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ประเทศพันธมิตรตะวันตก อย่างฝรั่งเศส อดีตเจ้าอาณานิคมก็ได้ประกาศระงับความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและงบประมาณสนับสนุนแก่ไนเจอร์แล้ว จนกว่ารัฐบาลประชาธิปไตยจะได้รับอำนาจกลับคืนมาอีกครั้ง

ส่วนสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประธานาธิบดีบาซูมทันที และประกาศเตือนว่าจะระงับความช่วยเหลือด้านความมั่นคง หากคณะรัฐประหารยังไม่ทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม ECOWAS อีกพันธมิตรทางความมั่นคงที่ประการระงับความช่วยเหลือคือสหภาพยุโรป

ขณะที่ทางสหประชาชาติ แม้จะออกมาประณามการใช้กำลังทางทหารของคณะรัฐประหารในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็ยังไม่ได้ประกาศระงับโปรแกรมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มีในไนเจอร์แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ที่น่ากังวลคือหลายฝ่ายวิเคราะห์ตรงกันว่าการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการระงับความช่วยเหลือแก่ไนเจอร์อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนคนธรรมดามากกว่าผู้นำทหารที่ลุกขึ้นมายึดอำนาจ

ที่ผ่านมาไนเจอร์นับว่าเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแหล่งหนึ่งในโลก ซึ่งต้องได้รับเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาจากธนาคารโลก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี อีกทั้งไนเจอร์ยังเป็นฐานที่มั่นหลักที่ชาติตะวันตก อย่างฝรั่งเศสฯ และสหรัฐฯ ใช้ในการต่อต้านกลุ่มติดอาวุธจีฮัดเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงมีความกังวลว่ารัฐประหารอาจส่งผลกระทบและซ้ำเติมต่อความมั่นคงของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกในภาพรวม

ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดจากฝ่ายคณะรัฐประหาร เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก่อนที่ชาติสมาชิกกลุ่ม ECOWAS จะประชุมหารือร่วมกัน คณะรัฐประหารยังไม่มีท่าทีที่จะถอย โฆษกของคณะรัฐประหารยังได้ออกมาประกาศเตือนผ่านทางช่องโทรทัศน์ของรัฐบาลว่า การใช้กำลังทางทหารแทรกแซงกิจการภายในของไนเจอร์จะตามมาด้วยผลกระทบอย่างแน่นอน

 กลุ่มผู้นำแอฟริกายื่นคำขาด บีบคณะรัฐประหารปล่อยผู้นำไนเจอร์ภายใน 7 วัน

ทันทีที่มีข่าวการทำรัฐประหารออกมาเมื่อวันพุธที่แล้ว ก็เกิดการประท้วงทั่วไนเจอร์อย่างต่อเนื่อง จากทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการปลดผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งออกจากตำแหน่งและฝ่ายที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันเดียวกันกับที่ชาติสมาชิกกลุ่ม ECOWAS จัดประชุมฉุกเฉิน กลุ่มสนับสนุนการทำรัฐประหารหลายพันคนก็ได้ออกมารวมตัวเดินขบวนเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนการทำรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง

โดยมีการเดินขบวนของกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐประหารในกรุงนีอาเมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่จุดที่ตึงเครียดและวุ่นวายจนยกระดับไปสู่จลาจลคือที่บริเวณหน้าสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงนีอาเม ตามภาพที่ปรากฏ จะเห็นว่าผู้ชุมนุมบางส่วนนำก้อนหินมาทุบทำลายกระจกของสถานทูตฝรั่งเศสและจุดไฟเผา จนสุดท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าควบคุมสถานการณ์และยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1

นอกจากนี้ยังมีผู้ประท้วงที่นำธงชาติฝรั่งเศสมาเผาพร้อมกับย่ำธงลงบนพื้นถนนอีกด้วย ขณะเดียวกันก็นำธงชาติรัสเซียขึ้นมาชูเหมือนการประท้วงในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าว CNN รายงานเพิ่มเติมว่าขณะที่มีการชุมนุม ผู้ประท้วงได้เปล่งเสียงออกมาว่า รัสเซียจงเจริญ ปูตินจงเจริญ ฝรั่งเศสจงล่มจม เสียงของผู้ชุมนุมนอกจากจะสนับสนุนการรัฐประหารอย่างเต็มที่แล้ว ยังสะท้อนถึงความไม่พอใจต่อฝรั่งเศสที่ยังพัวพันกับกิจการต่างๆ ในไนเจอร์ คัดค้านแถลงการณ์ของกลุ่มประเทศ ECOWAS ที่ต่อต้านคณะรัฐประหารและเข้ามายุ่งกับสถานการณ์การเมืองภายในของไนเจอร์

สาเหตุที่ฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับไนเจอร์นั้น เนื่องจากไนเจอร์เคยเป็นประเทศภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสจนถึงปี 1960 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายังไนเจอร์เพื่อช่วยรับมือต่อกลุ่มจีฮัด มีรายงานว่าปัจจุบันมีทหารฝรั่งเศสประจำการอยู่ในไนเจอร์ราว 1,500 นาย

ส่วนที่ชาวไนเจอร์บางส่วนไม่พอใจฝรั่งเศสนั้น เพราะเชื่อว่าฝรั่งเศสใช้อำนาจในฐานะอดีตเจ้าอาณานิคมขูดรีดทรัพยากรและชี้นำแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของไนเจอร์ จนประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญความทุกข์ยาก

ส่งผลให้รัสเซียค่อยๆ ขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกในนามการต่อต้านประเทศตะวันตก หนึ่งในนั้นคือการส่งกลุ่มทหารแวกเนอร์เข้ามาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์ นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงเห็นธงรัสเซียในการประท้วงสนับสนุนการรัฐประหาร

และเป็นอีกสาเหตุว่าทำไมจึงมีการตั้งข้อสังเกตออกมาว่า การรัฐประหารครั้งนี้อาจไม่ได้มีแรงจูงใจเพราะต้องการปลดประธานาธิบดีที่บริหารประเทศจนเศรษฐกิจย่ำแย่อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจรวมถึงการขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกไป อย่างที่ฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกจากมาลีและบูร์กินาฟาโซไปก่อนหน้านี้

ขณะที่ประชาชนไนเจอร์เสียงแตกว่าจะสนับสนุนหรือต่อต้านการทำการรัฐประหาร ล่าสุดมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ออกมาแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ตอนนี้

หลังจากที่หลายประเทศได้ออกมาตรการคว่ำบาตรและระงับความช่วยเหลือทางการเงินต่างๆ เพื่อเป็นการกดดันให้คณะรัฐประหารยอมคืนอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง สถานการณ์เช่นนี้ได้สร้างความกังวลอย่างมากให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการคนหนึ่งในกรุงนีอาเมเกรงว่ารัฐประหารจะทำให้เกิดข้อจำกัดทางการเงินขึ้น และต้องการให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติให้ไวที่สุด

You May Also Like

More From Author